u-klang-logo

ประวัติความเป็นมาสมาคมอู่กลางการประกันภัย

สมาคมอู่กลางการประกันภัยก่อกําเนิดจาก ผอ.กองวินาศภัย กรมการประกันภัย (สมัยนั้น) ร่วมกับสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย โดยคุณประสิทธิ์ ลิขิตวิบูลย์ นายกสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (เจ้าของ บริษัท อู่ประสิทธิ์ยนต์ (1993) จํากัด) ได้ร่วมปรึกษาหารือและได้มีความเห็นพ้องต้องกันในการก่อตั้ง “อู่กลางฯ” ที่มีราคาซ่อมมาตรฐานและเป็นธรรม เพื่อขจัดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาระหว่างบริษัทประกันภัย, ผู้เอาประกันภัย, อู่ซ่อมรถยนต์ และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอู่ซ่อมรถยนต์ให้มีมาตรฐานดียิ่งขึ้น 

  • พ.ศ. 2528 นายประสิทธิ์ ลิขิตวิบูลย์ นายกสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (เจ้าของบริษัท อู่ประสิทธิ์ยนต์ (1993) จํากัด) ได้ขอความร่วมมือกับอู่สมาชิกสมาคมสหมิตรฯ ในการร่วมตีราคาค่าซ่อมรถยนต์ให้เป็นธรรม ตามที่ได้รับการร้องขอจากกรมการประกันภัย ในการเกิดข้อโต้แย้งกรณีพิพาทของประชาชนและบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นการแบ่งเบาข้อร้องเรียนที่มีไปยังกรมการประกันภัย 
  • พ.ศ. 2539 นายไพสิฐ เลิศธีรพงศ์ นายกสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (เจ้าของบริษัท รุ่งเรืองออโต้ ไฮเทค จํากัด) และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ร่วมกับอธิบดีกรมการประกันภัยในสมัยนั้นได้หยิบยกการก่อตั้งอู่กลางฯ มาพิจารณาและเห็นว่าหน้าที่ในการตีราคาค่าซ่อมกรณีพิพาท มิใช่วัตถุประสงค์หลักของวิชาชีพการซ่อมรถยนต์เท่านั้น หากแต่เมื่อข้อพิพาทยุติประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรมจากการซ่อมรถยนต์ด้วย จึงเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรมีอู่ซ่อมรถยนต์ที่เป็น “อู่กลางของกรมการประกันภัย” ในการตีราคาค่าซ่อมรถยนต์และรับซ่อมรถยนต์ การรวบรวมสมาชิกอู่กลางของกรมการประกันภัย พ.ศ. 2541-2546 มีจํานวนสมาชิก 749 อู่ทั่วประเทศ นับเป็นความร่วมมือและความอุตสาหะยิ่งในอันที่ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นธรรมแก่ประชาชน 
  • พ.ศ. 2543 จากการประชุมร่วม “ไตรภาคี” ประกอบด้วยคณะกรรมการสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย (คณะจัดตั้งอู่กลางกรมการประกันภัย), สมาคมประกันวินาศภัย และกรมการ-ประกันภัย ได้ร่วมกันพิจารณา “ราคากลาง” และให้อู่กลางกรมการประกันภัยเป็นผู้ใช้ราคากลางในการซ่อมรถยนต์ที่เกิดกรณีพิพาทนั้น เพื่อความเป็นธรรมและมีมาตรฐาน พร้อมทั้งมีมติประกาศใช้ “ราคากลาง ปี 43” สําหรับเกิดข้อกรณีพิพาทระหว่างผู้เอาประกันหรือคู่กรณีกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ ต่อมากรมการประกันภัย โดยความร่วมมือจากสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรม แรงงาน, สมาคมประกันวินาศภัย และสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันพิจารณากําหนดราคากลางและคุณสมบัติของอู่กลางโดยคัดเลือกจากอู่ซ่อมรถยนต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดแต่งตั้งให้เป็น “อู่กลางกรมการประกันภัย” ไว้เพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้บริโภค 
  • พ.ศ. 2546 อธิบดีกรมการประกันภัย เห็นว่าอู่กลางกรมการประกันภัยมีศักยภาพและมีสมาชิกฯ ทั่วประเทศมากพอที่จะให้บริการแก่ประชาชนผู้บริโภคและบริษัทประกันภัย อธิบดีกรมการประกันภัยจึงให้อู่กลางกรมการประกันภัย” เปลี่ยนชื่อและจัดตั้งเป็น “สมาคมอู่กลางการประกันภัย” เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 โดยมีนายไพสิฐ เลิศธีรพงศ์ ดํารงตําแหน่งนายกสมาคมอู่กลางการประกันภัยท่านแรก และได้รับการสนับสนุนจากกรมการประกันภัย, กระทรวงพาณิชย์, สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม 
  • พ.ศ. 2547 นายสัญชัย งามพรสุขสวัสดิ์ นายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ บริษัท ธนบุรี ออโต้คาร์ จํากัด) และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ร่วมปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่สนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพอู่ซ่อมรถยนต์ของสมาชิกฯ ให้มีมาตรฐานการซ่อมรวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตลอดจนบุคลากรที่มีความชํานาญ ผ่านการทดสอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงเกิด “อู่กลางยุคใหม่” ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ โดยมีอธิบดีกรมการประกันภัยเป็นประธานคณะฯ มีจํานวนสมาชิกที่ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบมาตรฐานอู่กลางการประกันภัย 369 อู่ทั่วประเทศ ได้ริเริ่มนโยบายประชาสัมพันธ์สมาคมอู่กลางฯ ให้รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และประชาชนผู้บริโภค
  • พ.ศ. 2548 นายศุภกร ศรีอัษฎาวุธกุล รักษาการนายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ บริษัท เขียว ออโต้ การาจ จํากัด ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะกรรมการจัดตั้งและเป็นอู่กลางฯ ยุคแรก) พร้อมทั้งคณะกรรมการบริหารฯ รักษาการ ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผู้บริโภคและอู่ซ่อมรถยนต์ ในเรื่องราคาค่าซ่อมที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นของสินค้า เช่น สี และวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อตรวจสอบและพิจารณาเรื่องราคาที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายตามความเป็นจริง โดยคํานึงถึงราคาวัสดุที่ปรับตัว ณ ปัจจุบันและมีมติเห็นพ้องต้องกันในการปรับ “ราคา กลาง ปี 49” โดยอ้างอิงจากราคาซ่อมอู่กลางกรมการประกันภัย (พ.ศ. 2543) เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม พ.ศ. 2549 นายสมชาย ปังปิติกุล รักษาการนายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ ศูนย์ซ่อมสมชายคาร์เซ็นเตอร์) และคณะกรรมการบริหารฯ ชุดรักษาการ มีมติเห็นพ้องต้องกันในการจัดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อคัดสรรนายกสมาคมอู่กลางการประกันภัยและคณะกรรมการบริหารสมาคมฯเพื่อบริหารงานองค์กรต่อไป 
  • พ.ศ. 2550 นายอนุรักษ์ กําธรเจริญรุ่ง นายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย (เจ้าของ บริษัท อนุรักษ์ ออโตรีแพร์ เซ็นเตอร์ จํากัด) ได้สืบสานนโยบาย-วิสัยทัศน์-พันธกิจ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมอู่กลางฯ ทั้งในด้านมาตรฐานและความเป็นธรรม สืบสานนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ร่วมประชุมกับภาครัฐเพื่อรับทราบนโยบายด้านต่างๆ ขณะเดียวกันมีนโยบายด้านสังคมและสาธารณกุศลเท่าที่ดําเนินการได้ เป็นแนวทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ให้องค์กรเป็นที่รู้จักมากขึ้น และสมาชิกสมาคมอู่กลางฯ ทุกๆ ท่านมีบทบาทในการร่วมบริหารองค์กร
  • พ.ศ.2552 นายอำนาจ สมกลิ่น นายสมาคมอู่กลางการประกันภัย และคณะ จดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 
  • พ.ศ.2556 น.ส.ธัญยกันต์ ศรีอังกูรธนรัฐ นายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย และคณะ จดทะเบียนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 
  • พ.ศ.2562 นายศุภกร ลีภัทรวรกุล นายกสมาคมอู่กลางการประกันภัย และคณะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกฯ ในปีพ.ศ.2562  จนถึงปัจจุบัน (อยู่ระหว่างการจดทะเบียน)